“ต่อมลูกหมากโต” เป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่เพียงสร้างความทุกข์ทรมานเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้ผู้ชายส่วนใหญ่รู้สึกวิตกกังวลและขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับต่อมลูกหมากซึ่งเป็นอวัยวะระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย และเพื่อให้รู้ทันโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุ รวมทั้งแนวทางการรักษา บทความนี้ herbalap.com มีความรู้ดี ๆ มาแนะนำครับ
โรคต่อมลูกหมากโต คืออะไร
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีหน้าที่ผลิตสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิเพื่อใช้หล่อเลี้ยงเชื้ออสุจิและนำส่งเชื้ออสุจิในขณะที่มีการหลั่งของน้ำอสุจิออกมา โดยตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่บริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะระบบสืบพันธุ์ในผู้ชายที่โตเต็มที่จะมีขนาดประมาณเท่ากับลูกเกาลัด ส่วนชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท และเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น
โรคต่อมลูกหมากโต เป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนมีความผิดปกติ และไปกดเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง โดยทั่วไป ต่อมลูกหมากโต เป็นโรคที่พบได้เป็นปกติรวมทั้งการเกิดโรคนี้มักสัมพันธ์กับอายุ ผู้ป่วยโรคส่วนใหญ่จะพบในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และพบได้มากในผู้สูงวัยที่มีอายุ 80 ปีขึ้น ซึ่งพบได้มากถึงร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยนี้ทั้งหมด
สาเหตุและอาการของโรคต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคมาจากลักษณะที่ห่อหุ้มท่อปัสสาวะเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นหรือมีขนาดใหญ่ผิดปกติก็อาจไปกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ทำให้เกิดอาการผิดปกติและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย ส่วนความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เช่น อาการต่อมลูกหมากโตที่ไปกดเบียดท่อปัสสาวะทำไห้เกิดจากการอุดกั้นของการขับถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะแสบขัด ในบางคนความแรงของปัสสาวะลดลง ในขณะที่บางคนอาจมีอาการหนักถึงขั้นปัสสาวะไม่ออก ส่วนลักษณะโดยรวมที่บ่งบอกอาการของโรค มีดังนี้
- มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย ๆ หรือรู้สึกต้องการปัสสาวะขึ้นทันที
- ช่วงกลางคืน มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยมาก จนทำให้รู้สึกพักผ่อนไม่เพียงจากการตื่นนอนบ่อย
- กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือต้องเบ่งปัสสาวะจนกว่าจะออก
- มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันทีที่ปวดปัสสาวะ
- เมื่อต้องการปัสสาวะต้องใช้เวลาเบ่งปัสสาวะจนกว่าจะออก
- ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุดเป็นช่วง ๆ ลักษณะปัสสาวะเป็นหยดๆ เมื่อใกล้จะสุด และ
ปัสสาวะไม่สุด
- ปัสสาวะมีหนองหรือมีสีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
- ปวดปัสสาวะรุนแรงมาก หรือรู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
- รู้สึกทรมานทุกครั้งจากการปัสสาวะแสบขัด
- เกิดความรู้สึกว่าการขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องวุ่นวายในชีวิตประจำวัน
- เมื่ออาการอยู่ในขั้นรุนแรง หรืออาจเมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะจะขุ่น มีตะกอน
กลิ่นแรงขึ้น มีไข้ หนาวสั่น ปวดที่สีข้าง บริเวณหลัง หรือบริเวณท้อง
นอกจากนี้ อาการ ต่อมลูกหมากโต ยังอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น ซึ่งส่งผลมาจากกระเพาะปัสสาวะต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบ ๆ เมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัว ก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะทำให้กลไกในการทำงานลดลง ผู้ที่มีภาวะต่อมลูกหมากโตจึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันซึ่งเป็นลักษณะอาการหนึ่งของโรคนี้
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโต เป็นอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ และยังเป็นโรคที่สัมพันธ์กับช่วงอายุของคน เนื่องจากมักพบโรคนี้ในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มีการสันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งของต่อมลูกหมากโตเกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกายตามวัยในผู้ชาย เมื่อพบอาการผิดปกติหรือเป็นข้อบ่งชี้ว่าเป็นอาการของต่อมลูกหมากโต การวินิจฉัยโรค ทำได้ ดังนี้
- การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโตด้วยตนเอง
สำหรับการวินิจฉัยอาการผิดปกติของต่อมลูกหมากด้วยตนเอง ในเบื้องต้นสามารถทำได้โดย
สังเกตความผิดปกติในการปัสสาวะ หากพบว่ามีการปัสสาวะที่บ่อยขึ้น หรือในขณะที่ปัสสาวะรู้สึกเจ็บ และมีปัสสาวะเป็นเลือด รวมทั้งมีอาการปัสสาวะไม่พุ่ง ไหลช้า หรือไหล ๆ หยุด ๆ ต้องเบ่งหรือรอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้ หากมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์
- การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโตโดยแพทย์
หลังจากพบความผิดปกติและวินิจฉัยอาการของโรคต่อมลูกหมากโตด้วยตนเองจนแน่ใจว่าเป็น
อาการของโรคนี้แล้ว เมื่อไปพบแพทย์ขั้นแรกแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยต่อมลูกหมากโต ตามขั้นตอน ดังนี้
- ซักประวัติคนไข้โดยละเอียด เริ่มจากสอบถามลักษณะอาการ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ
- ตรวจปัสสาวะ และตรวจวัดความแรงของสายปัสสาวะ เพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ ผลที่
ได้จะช่วยให้ทราบว่าการไหลของปัสสาวะเป็นปกติหรือไม่
- ทำการตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ ซึ่งสามารถช่วยระบุการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้
- ตรวจวัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ โดยจะใช้การอัลตราซาวด์ หรือใช้สาย
สวนปัสสาวะใส่เข้าไปทางท่อปัสสาวะ
- ตรวจเลือด เป็นการตรวจดูการทำงานของไตว่ายังทำงานได้ดีหรือไม่
- อัลตราซาวนด์ เพื่อให้ทราบขนาดต่อมลูกหมากที่เปลี่ยนแปลง
- ตรวจคลำต่อมลูกหมากผ่านทางท่อทวารหนัก เพื่อดูความผิดปกติ
- ตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียง โดยนำอุปกรณ์ขนาดเล็กใส่เข้า
ไปทางทวารหนักเพื่อทำการตรวจขนาดและโครงสร้างของไต กระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก
- ตรวจเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก เพื่อหาสาเหตุว่าอาการต่อมลูกหมากโตนั้นเกิดจาก
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือสาเหตุอื่น ๆ
- การตรวจกระเพาะปัสสาวะ โดยสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปเพื่อตรวจท่อปัสสาวะและกระเพาะ
ปัสสาวะ วิธีนี้จะทำให้เห็นขนาดของต่อมลูกหมากที่ใหญ่ขึ้นและไปขัดขวางทางเดินปัสสาวะ
- ตรวจความดันภายในกระเพาะปัสสาวะขณะปัสสาวะ เพื่อหาสาเหตุว่าปัญหาในการปัสสาวะ
ลำบากเกิดจากโรคต่อมลูกหมากโตหรือเกิดจากปัญหาอื่น ๆ
- ตรวจด้วยการฉีดสี เพื่อให้เห็นการทำงานของไตและการไหลเวียนของปัสสาวะจากไตไปยัง
กระเพาะปัสสาวะ
แนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
สำหรับแนวทางการรักษาอาการต่อมลูกหมากโต จะขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและขนาดของต่อมลูกหมากว่าโตมากน้อยเพียงใด ส่วนความผิดปกติที่เกิดขึ้นจแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ลักษณะการโตที่ไม่เป็นเนื้อร้ายแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และอาการต่อมลูกหมากโตที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง ซึ่งการรักษาก็จะมีแนวทางที่แตกต่างกันออกไป เช่น
- การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตแบบธรรมดา
แนวทางการรักษาอาการต่อมลูกหมากโตผิดปกติแบบธรรมดาหรือไม่ได้เป็นเนื้อร้ายที่ส่งผลต่อ
สุขภาพโดยรวม เพื่อให้การรักษาได้ผลดีสามารถทำให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อาจจะต้องใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน โดยทั่วไปหลักในการรักษาต่อมลูกหมากโต มีขั้นตอน ดังนี้
- หากผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ มีอาการไม่มากนักและไม่รบกวนชีวิตประจำวัน แพทย์อาจแนะนำให้
รอดูอาการสักระยะหนึ่ง และนัดติดตามอาการเป็นระยะ
- กรณีพบว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ แพทย์อาจรักษาด้วยการสั่งยาบางชนิดให้ เพื่อช่วยให้ต่อม
ลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการบวม
- รักษาด้วยความร้อน ด้วยการใช้คลื่นความร้อน เช่น ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ หรือเลเซอร์ ผ่านเข้า
ไปที่ต่อมลูกหมาก เพื่อทำให้ต่อมลูกหมากฝ่อและเล็กลง
- รักษาด้วยวิธีผ่าตัด เป็นการส่องกล้องเพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนเกินออกมาจากต่อมลูกหมาก แพทย์
จะทำการผ่าตัดโดยส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดทับท่อปัสสาวะไว้ วิธีนี้เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคต่อมลูกหมากโตที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่
- วิธีรักษาด้วยผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา เป็นการรักษาในกรณี
ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ
- การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดต่อมลูกหมาก โดยศัลยแพทย์จะวางยาสลบ และผ่าตัดนำบางส่วน
ของต่อมลูกหมากออก วิธีนี้จะช่วยรักษาอาการได้อย่างรวดเร็ว
- การรักษาต่อมลูกหมากโตที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง
เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ลักษณะต่อมลูกหมากโต มีอาการที่เข้าข่ายของโรคมะเร็งต่อม
ลูกหมาก หลังจากมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและทำให้ทราบว่าอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากอยู่ใรระยะใด เพราะจะช่วยให้แพทย์หาวิธีการรักษาที่เหมาะสม การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มต้น และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายออกมาที่ผิวด้านนอกของต่อมลูกหมาก และอาจลุกลามเข้า
ท่อน้ำเชื้อด้านข้าง
ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูกและต่อมน้ำเหลือง
การรักษาอาการต่อมลูกหมากโตชนิดที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง แพทย์จะพิจารณาทางเลือกในการ
รักษาจากข้อบ่งชี้ต่าง ๆ ได้แก่ ตำแหน่งของเนื้อร้าย ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง สภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย โดยปัจจุบันมีแนวทางการรักษา ดังนี้
- รักษาด้วยการผ่าตัด แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดผ่าน
จอมอนิเตอร์ ช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยลง สามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และการผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด เป็นการผ่าตัดโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดยแพทย์ ซึ่งมีข้อดีคือเพิ่มโอกาสที่ผู้ป่วยจะสามารถควบคุมการกลั้นปัสสาวะ และคงความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศไว้ได้
- การใช้รังสีรักษา เป็นการรักษาที่มีทั้งการฝังแร่ต่อมลูกหมาก และการฉายรังสี ทางเลือกในการ
รักษาขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง หรือความเสี่ยงสูง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่อมลูกหมากโต
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต ส่วนมากมักจะมีต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ลักษณะอาการที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็คือการถ่ายปัสสาวะออกไม่หมดมีปัสสาวะค้างอยู่ทำให้เกิดการตกตะกอนที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น
- ปัสสาวะไม่ออก ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และอาจเกิดการติดเชื้อได้
- เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- ปัสสาวะเป็นเลือด มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดของต่อมลูกหมากแตก เนื่องจากต้องเบ่งปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
- ปัสสาวะไม่หมด มีการคั่งค้างของน้ำปัสสาวะที่ทำให้เกิดการตกตะกอนได้
- เกิดภาวการณ์เสื่อมของไต มีอาการไตเสื่อม ไตวาย
- อาจจะทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะหย่อนยานหรือเป็นถุงโป่งพอง
- ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง
- อวัยวะไม่แข็งตัว มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวขององคชาต
ปัจจัยเสี่ยงของอาการต่อมลูกหมากโต
โรคต่อมลูกหมากโต เป็นอาการที่ผู้ชายส่วนใหญ่มักต้องเจอเมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องจากต่อมลูกหมากโดยทั่วไปจะหยุดการเจริญเติบโตหลังจากอายุ 20 ปี และในช่วงอายุ 45 ปีจะเพิ่มขนาดขึ้นไปเรื่อย ๆ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่อมลูกหมากโต ปัจจัยเสี่ยงและวิธีป้องกัน มีดังนี้
- ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไปถือว่ามีปัจจัยเสี่ยง ร้อยละ 20 ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีปัจจัยเสี่ยงร้อยละ 50
และหากมีอายุเพิ่มขึ้นช่วงอายุ 80-90 ปี จะพบว่ามีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ทุกคน วิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคนี้ เมื่ออายุมากขึ้นหรืออยู่ในช่วง 45-50 ปีควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี
- ปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งต่อม
ลูกหมากจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 20%
- พฤติกรรมการบริโภคก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การ
ป้องกันตนเองควรเลือกบริโภคอาหารที่หลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างสมดุล หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
- การสูบบุหรี่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายเพิ่มสูงขึ้น และเป็นตัวกระตุ้นทำให้ต่อมลูกหมาก
โตปิดปกติ
- น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่อมลูกหมากโต สูงกว่าผู้ที่
มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโต เป็นโรคที่สัมพันธ์กับช่วงอายุเนื่องจากพบว่าผู้ชายที่มีอายุเพิ่มมากขึ้นมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ทุกคน โดยเฉพาะช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปพบได้มากถึงร้อยละ 50 เมื่อรู้ทันปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรค วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคต่อมลูกหมากโต หรือป้องกันตนเองจากปัจจัยเสี่ยงทำได้ ดังนี้
- ลดอาการปวดปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต มักมีอาการปวดปัสสาวะในเวลากลางคืน
นอกจากทำให้ต้องตื่นนอนบ่อย ๆ ยังส่งผลต่อสุขภาพเนื่องจากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ วิธีดูแลตนเองได้แก่ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
- ควรงดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน โดยเฉพาะคนที่มีอาการของ
โรคอยู่แล้ว เพราะอาจเกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะและทำให้อาการแย่ลง
- หลีกเลี่ยงหรือไม่ควรอั้นปัสสาวะ เพราะการอั้นปัสสาวะนานเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อ
กระเพาะปัสสาวะเกิดความเสียหาย
- สร้างวินัยให้กับตนเอง โดยฝึกการเข้าห้องน้ำทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง เป็นวิธีที่ช่วยได้มากในกลุ่ม
ผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตที่ปัสสาวะบ่อยและไม่สามารถกลั้นได้
- การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง จะช่วยในเรื่องของการควบคุม
น้ำหนักไม่ทำให้เป็นโรคอ้วน ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งเกี่ยวของกับโรคต่อมลูกหมากโต
- ออกกำลังกายด้วยการเดินอย่างน้อยวันละ 30-60 นาทีต่อวัน มีผลงานการวิจัยระบุว่าช่วยให้
อาการดีขึ้น
- รับประทานยาให้เหมาะสมตามแพทย์สั่ง
สรุป ต่อมลูกหมาก ก็คืออวัยวะส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีหน้าที่ผลิตสารที่เป็น
ของเหลวเพื่อใช้หล่อเลี้ยงเชื้ออสุจิและนำส่งเชื้ออสุจิขณะที่มีการหลั่งของน้ำอสุจิออกมา เมื่อต่อมลูกหมากโตผิดปกติทำให้ไปกดเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะติดขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยุ่ หรืออาการอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต แม้อาการต่อมลูกหมากโต จะไม่ใช่โรคร้ายแรงที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แต่ก็เป็นโรคที่ผู้ชายทุกคนไม่ปรารถนาและยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็สูงขึ้นด้วย การรู้เท่าทันอาการของโรคทำให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสามารถป้องกันตนเองจากโรคนี้ได้ ปัจจุบันยังมีอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของเพศชายที่มีส่วนประกอบของพืชสมุนไพรจากธรรมชาติ ผลิตออกมาจำหน่ายเพื่อให้เป็นทางเลือกในการบำรุงดูแลสุขภาพอีกด้วย